Posts tagged #muic

High Yields MCAT Topics: Biology

Studying for MCAT can be very daunting and requires lots of effort and time. One way to help you study is to focus on ‘high yield’ topics, which are the frequently asked on the MCAT exam. This will save your study time and help you prepared for MCAT more efficiently.

For this blog, we will start off with Biology!

• As you might guess, questions about body systems will come up the most since it covers more than half of Biology. Nervous and endocrine systems are definitely going to show up in either in a passage or independent questions since they are the systems that control other systems. So by studying these two systems thoroughly, you are basically going through the other systems as wells

• Genetics and evolution are the ones not to be missed and luckily, they are actually not that difficult. They are usually asked in independent question and sometimes asked in a passage, especially when it is about a disease or a genetic disorder. Be sure to practice genetic questions by doing Punnett square as well as applying multiplication and addition rules. This is where you can grab as many points as possible!

• Lastly, it’s not biology if there isn’t question about cell. Make sure you know the differences and similarities between prokaryotic cells and eukaryotic cells. This includes overall structures and gene expressions. Questions about viruses are often asked along as well since they can attack both prokaryotes and eukaryotes! Learn how different types of viruses replicate can be very useful.

Focusing on high yield topics is for efficiency, so don’t neglect other areas that I didn’t mention; after all, if you don’t have the necessary basics, you won’t be able to apply your knowledge and draw a right conclusion. That’s all for Biology. See you next blog for high yield topics for Biochemistry!

Jane

MCAT: ต้องเตรียม ต้องติว ต้องปัง

สวัสดีค่ะน้องๆทุกคน อ. เจน นะคะ (หรือจะเรียกพี่เจนก็ได้ค่ะ เพื่อความเป็นกันเอง) ขอแนะนำตัวแบบง่ายๆก่อนเลย พี่เรียนจบปริญญาเอกสาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยรับหน้าที่การสอนวิชา Biology เป็นหลักและ Biochemistry ที่ Learning Hub และ MediPrep ค่ะ ซึ่งก็มีประสบการณ์สอนน้องๆที่นี่มาเกือบ 5 ปีแล้วค่ะ

สำหรับ blog แรกนี้ พี่ขอเริ่มต้นด้วยการแนะนำเกร็ดเล็กๆน้อยๆสำหรับการเตรียมตัวก่อนสอบ MCAT นะคะ สิ่งแรกที่น้องๆต้องทำคือต้องทำความรู้จัก MCAT ก่อน (รายละเอียดนั้น สามารถหาได้จากทาง website ต่างๆได้) โดยข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน:

1. Biological and Biochemical of Living Systems

2. Chemical and Physical Foundations of Biological systems

3. Psychological, Social, and Biological Foundations of Behavior

4. Critical Analysis and Reasoning Skills

คะแนนเต็มของแต่ละส่วนคือ 132 คะแนน มีคะแนนรวมทั้งหมด 528 คะแนน

• เพราะฉะนั้น การที่จะได้คะแนนสอบที่ดีนั้นจะต้องมีการเตรียมตัวที่ใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยเวลานี้จะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาต่างๆ รวมถึงการทำข้อสอบจาก question banks (Learning Hub เราพร้อมจัดการให้ทุกอย่างแน่นอน!)

• อย่างแรกที่อยากให้น้องๆทำคือสร้าง to-do list ของตัวเองโดยแบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ คือ

1. ช่วง Study เป็นเรียนรู้เนื้อหาของแต่ละวิชาเป็นหลัก ทำความเข้าใจเนื้อหา จำคำศัพท์ทางเทคนิคต่างๆ เป็นต้น

2. ช่วง Review เป็นการทบทวนเนื้อหาที่ได้ทำไปในช่วง study โดยมีการทำแบบฝึกหัดแบบพื้นฐาน หรือการใช้ Anki flashcards

*น้องๆสามารถนำช่วง study และ review มาสลับกันได้ เช่น เมื่อเรียนบท respiratory system เสร็จแล้ว ก็ต่อด้วยช่วง review

3. ช่วง Practice เป็นการทำแบบฝึกหัดที่ใกล้เคียงกับข้อสอบ MCAT ของจริง เช่นการทำคำถามจาก UWorld หรือ AAMC เพราะน้องๆจะได้ประเมินตัวเองว่าพร้อมหรือยังที่จะสอบ มีเนื้อหาตรงไหนที่ต้องไปเน้นเพิ่มเติมหรือไม่ ขอเน้นเลยนะคะ ว่าจุดนี้สำคัญมากๆ นอกจากจะเป็นการทดสอบความรู้ที่ต้องใช้สอบแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ style การสอบของตัวเองด้วย เช่นการเลือกที่จะทำ passage ให้จบก่อน หรือ independent questions ก่อน หรือระยะเวลาในการใช้ตอบคำถามว่าใช้เวลานานไปหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าเรามีเวลาแค่ 90-95 นาทีในการทำข้อสอบ โดยการทำ to-do list นี้ ควรเซ็ท timeline ไว้ด้วย เช่น ในสัปดาห์นี้จะเรียนเกี่ยวกับ glucose metabolism และ lipid metabolism ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้เห็นในภาพกว้างของระยะเวลาในการเตรียมตัวทั้งหมดก่อนสอบ และเป็นการกระตุ้นตัวเองว่าเวลาใกล้สอบแล้วนะ พร้อมหรือยัง ไฟจะลนก้นแล้วหรือยังนะ ล้อเล่นนะคะ ซึ่งถ้าน้องๆเซ็ท timeline แบบนี้ น้องๆจะไม่มีความ panic แบบนี้แน่นอน ตรงกันข้าม น้องๆจะรู้สึกว่าตัวเองพร้อมแล้วที่จะลุยในสนามจริง

• อีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันคือเวลาพัก อย่าลืมใส่เวลา break เข้าไปใน to-do list ด้วยนะคะ เป็นการพักสมองเบาๆ สักวันในสัปดาห์ที่ฝ่าฟันเนื้อหาทั้งหมดมา เครียดไปก็ไม่ดีนะคะ! เป็นการ recharge ตัวเองเพื่อการเรียนในสัปดาห์ถัดไปค่ะ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่พี่มาเสนอนะคะ โดยน้องๆสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองเพื่อให้การเตรียมตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ ทาง Learning Hub พร้อมพาน้องๆลงสู่สนามจริงค่ะ! เพราะการเริ่มต้นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่งนะคะ happy learning ค่ะทุกคน แล้วพบกันใน blog ถัดไปค่ะ

อ.เจน 🙂